เชื่อว่าพ่อค้าแม่ขายทุกคน เคยเจอกับปัญหาขายของแล้ว ลูกค้าไม่ซื้อ หรือลูกค้าไม่แวะถาม แวะชมสินค้าเลย ตรงนี้ถือว่าสร้างความหนักใจให้กับพ่อค้าแม่ขายอยู่ไม่น้อย วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ขอเอาใจพ่อค้าแม่ขาย ด้วยการบอกเคล็ดลับ และเทคนิคการพูด ให้ลูกค้าซื้อของ ช่วยเพิ่มยอดขายได้นพริบตาครับ อ่านแล้วนำไปใช้ได้เลยครับ 1.สวัสดีครับ / ค่ะ วิธีพูดง่ายๆ แต่ได้ผล คำทักทายง่ายๆ อย่าง สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ เป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะเมื่อลูกค้าเดินเข้ามาในร้าน แล้วคุณกล่าวคำว่า สวัสดีออกไป จะช่วยลดอาการเกร็งในการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าได้ในระดับหนึ่ง ที่สำคัญพ่อค้าแม่ขาย สามารถใช้ได้กับคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าประจำ หรือลูกค้าใหม่ แล้วอย่าลืมว่าการพูดทักทายต้องพูดด้วยน้ำเสียงที่ไม่ดุดัน แข็งกระด้างจนเกินไป ให้พูดด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล เพื่อแสดงให้เห็นว่าพ่อค้าแม่ขายเป็นคนอารมณ์ดี น่าคบหาสมาคม น่าพูดคุย และผูกมิตรด้วย รับรองว่าคำทักทายสั้นๆ พร้อมน้ำเสียงที่นุ่มนวลนี้ สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าและสร้างยอดขายให้ร้านของคุณได้แน่ๆ ครับ 2.แชร์ความประทับใจของลูกค้าเก่า ในการเลือกซื้อสินค้าบางครั้งลูกค้าก็เกิดอาการลังเล หรืออาจกังวลในการตัดสินใจที่จะซื้อ เมื่อเจอกับปัญหานี้ ให้พ่อค้าแม่ขายลองพูดยกตัวอย่างความประทับใจของลูกค้าเดิม ที่เคยซื้อสินค้าของคุณแล้วเกิดความชอบ เช่น “เสื้อตัวนี้ขายดีจริงๆ นะครับ นะคะ ลูกค้าใส่แล้วชอบ เกิดติดใจกลับมาซื้อเพิ่มหลายคนแล้ว เพราะเสื้อตัวนี้ซักแล้วไม่ยืด

Read More

ตลาดค้าปลีกแม้จะถูกท้าทายด้วยตลาดออนไลน์แต่ก็ใช่ว่าร้านค้าออฟไลน์จะสูญพันธ์ไปซะทั้งหมด โอกาสเติบโตของร้านค้าออฟไลน์ยังมีหนทางที่เป็นไปได้ เพราะเสน่ห์ของร้านค้าแนวนี้ยังเป็นที่สนใจของลูกค้าบางส่วน เพียงแต่เราในฐานะเจ้าของร้านต้องรู้ว่าสิ่งไหนควรทำไม่ควรทำเพื่อเพิ่มโอกาสเปิดร้านค้าที่สร้างกำไรได้ดีกว่าเดิม ซึ่งเราได้รวบรวมเนื้อหานี้มาเป็นแนวทางว่าอะไรควรทำอันไหนไม่ควรทำจะได้มีแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับการลงทุนเปิดร้านค้าออฟไลน์ 1.สัญญาค่าเช่า สิ่งที่ไม่ควรทำ: หลีกเลี่ยงการเซ็นสัญญาระยะยาว ต้องเข้าใจว่าเจ้าของพื้นที่เขาก็อยากได้ความมั่นใจว่ามีคนเช่าแน่ๆ แต่ในฐานะคนขายของและลงทุน แม้เรามั่นใจว่าพื้นที่นี้จะเป็นทำเลทองแต่ปัจจัยเสี่ยงที่จะตามมาก็มีอีกหลายอย่าง สัญญาระยะยาวมักเป็นข้อผูกมัดที่มากเกินไปสำหรับการเปิดร้านค้า สิ่งที่ควรทำ : รู้จักการคำนวณอย่างละเอียดรอบคอบว่าแนวโน้มของร้านค้าจะสร้างกำไรได้พอกับค่าเช่าแค่ไหน มีปัจจัย หลายอย่างที่ต้องเอามาคิดร่วมกันเช่น ราคาขายสินค้า ราคาค่าเช่า รายจ่ายพนักงาน รายจ่ายภายในร้าน ค่าน้ำค่าไฟ รายจ่ายเบ็ดเตล็ดต่างๆ เป็นต้น 2.ปริมาณลูกค้าในพื้นที่ สิ่งที่ไม่ควรทำ: ห้ามใช้ความรู้สึกส่วนตัวตัดสินปริมาณลูกค้าเด็ดขาด เราควรจะดูว่าร้านของเราเป็นธุรกิจประเภทไหน ขายสินค้าอะไร มีบริการอะไร ต้องเลือกตั้งร้านในอยู่ในโซนที่เหมาะสมเช่นถ้าเป็นร้านค้าระดับพรีเมี่ยมก็ไม่ควรตั้งอยู่ในทำเลที่มีสินค้าลดราคา หรือถ้าเป็นร้านอาหารก็ต้องดูว่าลูกค้าในพื้นที่มีมากแต่เขาสนใจเมนูไหนเป็นพิเศษห้ามคิดเองว่าเราจะต้องขายดี สิ่งที่ควรทำ: เพื่อให้ชัดเจนและมีโอกาสรอดในการทำธุรกิจมากขึ้นเราควรวิเคราะห์เก็บสถิติพฤติกรรมผู้บริโภคในพื้นที่ทำเลนั้นๆ มาประเมินว่าเราควรมีสินค้าแบบไหน มีบริการแบบไหน เพื่อจะได้ถูกใจลูกค้ามากที่สุด 3.ลงมือทำงาน สิ่งที่ไม่ควรทำ: การเปิดร้านค้าเป็นของตัวเองก็หมายถึงว่านั้นคือธุรกิจที่เราต้องดูแล อย่าคิดว่าจะทำเล่นๆ ควรเตรียมพร้อมที่จะลงมือทำงานจริงจัง อย่าคิดว่าเป็นนายตัวเองจะทำเมื่อไหร่ก็ได้จะหยุดเมื่อไหร่ก็ได้ ถ้าคิดแบบนั้นพังแน่ สิ่งที่ควรทำ: คิดเสมอว่าร้านของเราต้องทำให้ฮิตติดตลาดดังนั้นต้องคิดแบบเจ้าของกิจการคือทำงานหนักในทุกวัน ซึ่งอาจจะมากกว่าตอนเป็นมนุษย์เงินเดือนแต่เราควรที่จะเรียนรู้ทุกขั้นตอนในการทำร้าน สั่งของ ทำบิล ทำการตลาด ทุกอย่างเราต้องรู้ทั้งหมด 4.สร้างความประทับใจให้ลูกค้า สิ่งที่ไม่ควรทำ: อย่ามั่นใจว่าร้านค้าเราอาจจะอยู่ในทำเลที่ดี อย่ามั่นใจว่าร้านเราสวยงาม ร้านเรามีบริการที่ดี

Read More

การลงทุนทำตลาดนัดนั้นมีทั้งหมด 2 แบบ คือ การลงทุนบนที่ดินเปล่าของตัวเอง หรือดำเนินการบนที่ดินของคนอื่น ซึ่งต้องยอมรับว่าปัจจุบันตลาดนัดมีเกิดใหม่จำนวนมากที่อยู่รอดก็เยอะที่เจ๊งไม่เป็นท่าก็มีไม่น้อยบางที่ติดป้ายเตรียมเปิดตลาดแต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้เปิดสักที เรามองว่าการลงทุนทำตลาดนัดแม้จะเป็นการลงทุนที่ดีแต่คนที่คิดจะลงทุนในธุรกิจนี้ก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการเบื้องต้นดีพอสมควรเลยทีเดียว 1.สำรวจตัวเองว่ามีเงินทุนเพียงพอ ก่อนจะทำธุรกิจก็ต้องคิดก่อนว่าตัวเองมีเงินทุนแค่ไหน ไม่ใช่แค่เงินที่จะลงทุนแต่ต้องรวมถึงเงินสดหมุนเวียนที่ต้องมีใช้ให้เกิดสภาพคล่องในระหว่างก่อร่างสร้างตัว เพราะทุกธุรกิจช่วงแรกรายจ่ายจะมากกว่ารายรับ หากสายป่านตรงนี้ยังไม่มีโอกาสเกิดก็ยาก โดยเฉพาะการทำตลาดยุคนี้ที่ไม่ใช่แค่การหาพื้นที่แล้วปล่อยให้พ่อค้าแม่ค้ามาขายกันสะเปะสะปะ ตลาดยุคนี้ต้องมีการบริหารจัดการ การปรับปรุงพื้นที่ การก่อสร้างในสิ่งที่สำคัญและจำเป็น เบ็ดเสร็จเงินลงทุนขั้นต่ำไม่รวมค่าเช่าพื้นที่ควรมีไม่น้อยกว่า 500,000 บาท 2.มีเงินก็ต้องมีทำเล ถ้าแน่ใจว่ามีเงินเพียงพอซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีหาหุ้นส่วนในการลงทุนขั้นต่อไปคือการหาทำเลหากเรามีที่ดินของตัวเองอยู่แล้วก็ง่ายหน่อยแต่ถ้าไม่มีก็ต้องมองหาที่ดินเปล่าที่เจ้าของปล่อยให้เช่า ซึ่งโดยส่วนใหญ่ทำเลดีๆในกรุงเทพฯหรือต่างจังหวัดมักจะมีนายทุนเป็นผู้ถือครองที่ดินเหล่านั้นอยู่ การเช่าพื้นที่มาทำตลาดส่วนใหญ่จึงค่อนข้างมีอัตราที่สูง หรือหากเราใช้เทคนิคที่จะดึงให้เจ้าของที่ดินมาเป็นหุ้นส่วนร่วมกันในการทำตลาดก็อาจจะทำให้ต้นทุนส่วนนี้ลดน้อยลงได้ด้วย 3.ร่างสัญญาและบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจน ยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาพูดคุยที่เรื่องสัญญามีความสำคัญมากไม่ว่าเจ้าของที่ดินจะเป็นหุ้นส่วนกับเราหรือไม่ก็ตาม เราควรจะมีการร่างสัญญาที่ชัดเจนว่าใครจะมีรายได้จากตรงไหน เท่าไหร่ ระยะเวลาเป็นอย่างไร อะไรที่ทำได้ อะไรที่ทำไม่ได้ งานนี้ต้องพึ่งนักกฎหมายเข้ามาร่างสัญญาให้ชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในกรณีบางทีตลาดเกิดบูมคนติดมากกำไรเยอะเจ้าของที่ดินจะเล่นแง่ด้วยการยกเลิกสัญญาเพื่อมาบริหารเอง เป็นต้น 4.วางแบบแปลนตลาดให้ชัดเจน ที่ดินสำหรับการทำตลาดควรมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 2 ไร่ที่สำคัญต้องจัดสรรพื้นที่สำหรับเป็นลาดจอดรถของพ่อค้าแม่ค้าและส่วนของลูกค้าแยกให้ชัดเจน ตลาดไหนที่ไม่มีที่จอดรถ เตรียมเจ๊งตั้งแต่เริ่มได้เลย การวางแปลนตลาดควรกำหนดปริมารแผงว่าต้องมีเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ไม่น้อยเกินไป ไม่แออัดเกินไป และควรแยกโซนให้ชัดเช่น ขายผัก ขายเนื้อสัตว์ ขายอาหารสำเร็จรูป อย่าลืมช่องทางเดิน ห้องน้ำ และอาคารอำนวยการด้วย 5.ขออนุญาติในการเปิดตลาดกับเจ้าหน้าที่ให้เรียบร้อย ถ้าเรามีแบบแปลนในการก่อสร้าง มีเงินทุน มีรายละเอียดที่ชัดเจนก่อนจะลงมือก่อสร้างก็ควรจะขออนุญาตกับทางเจ้าหน้าที่ให้เรียบร้อยส่วนใหญ่มักจะต้องไปติดต่อที่สำนักงานเขตในพื้นที่นั้นๆ โดยจะเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลในการออกใบอนุญาติต่างๆ

Read More

ยุคนี้ใครๆ ก็อยากเป็นพ่อค้าแม่ค้าจะเห็นได้ว่ามีตลาดเปิดใหม่ขึ้นที่ไหนพ่อค้าแม่ค้าก็จะแห่กันไปแทบจะในทันที การจะได้ทำเลดีๆ ตามตลาดนัดบางทีจึงต้องมีคนรู้จักคอยส่งข่าวว่าจะมีตลาดเปิดใหม่ตรงนั้นตรงนี้เพื่อเราจะได้ไปใชสิทธิ์จองล็อคขายของได้ก่อนใคร ซึ่งเรามองว่าการจองล็อคขายของตามตลาดนัดแม้จะมีอยู่ไม่กี่รูปแบบแต่ก็มีรายละเอียดย่อยๆที่น่าสนใจในตัวเองอยู่พอสมควร สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่อาจจะยังไม่มีความรู้ด้านนี้มากนักลองมาศึกษาวิธีการจองล็อคในรูปแบบต่างๆ จะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าตลาดในยุคนี้มีวิธีการจับจองพื้นที่อย่างไรบ้าง 1.การจองล็อคแบบขายประจำ วิธีการของแต่ละตลาดจะแตกต่างกันไป เช่นตลาดนัดรถไฟศรีนครินทร์จะเปิดให้พ่อค้าแม่ค้าจองล็อคสินค้าได้ทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนในเวลา 21.00 น. ซึ่งหลังจากเวลากำหนดทางตลาดจะเช็คว่าล็อคไหนที่หลุดล็อคไหนที่ไม่ได้จอง ก็จะจัดสรรให้ผู้เช่ารายใหม่ ซึ่งการจองล็อคขายประจำส่วนใหญ่จะจ่ายเป็นรายเดือน บางตลาดก็มีค่ามัดจำ บางตลาดก็ไม่มีค่ามัดจำ ซึ่งการที่เก็บค่าเช่าแบบเต็มเดือนก็เพื่อกระตุ้นให้พ่อค้าแม่ค้ามาขายของทุกวันล็อคได้ไม่ว่างตลาดได้ไม่เงียบและเพื่อเป็นการชดเชยหากพ่อค้าแม่ค้าไม่ได้มาขายของเจ้าของตลาดก็จะมีรายได้ทดแทนได้บ้าง 2.การจองล็อคแบบไม่ประจำ ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าแม่ค้าที่ไม่ได้ประจำตลาดใดตลาดหนึ่งแต่อาศัยขายไปทั่วๆ ซึ่งการจองล็อคแบบไม่ประจำนี้พ่อค้าแม่ค้าก็ต้องติดต่อเจ้าของตลาดหรือผู้ดูแลก่อนว่ามีที่ว่างพอสำหรับขายของหรือไม่ และกฏเกณฑ์การจองของตลาดนั้นมีอะไรบ้าง บางตลาดกำหนดการจองเฉพาะวันเสาร์ หรืออาทิตย์ และตลาดใหญ่ๆ อาจมีการแจกบัตรคิวสำหรับการจองล็อค ซึ่งราคาของล็อคแบบไม่ประจำอาจจะถูกกว่าแบบขายประจำ 3.จับสลากล็อคตลาดนัด บางตลาดที่ลูกค้านิยมมากย่อมเป็นที่หมายปองของพ่อค้าแม่ค้าขาจรด้วยเช่นกัน ดังนั้นไม่น่าแปลกที่เห็นพ่อค้าแม่ค้าขาจรเหล่านี้อยากจับจองเป็นเจ้าของล็อคขายสินค้า ซึ่งต้องอธิบายก่อนว่าตลาดส่วนใหญ่จะมีพ่อค้าแมค้าประจำอยู่ แต่ก็มีที่เจ้าของล็อคเดิมอยากพักผ่อน อยากหยุดไปทำธุระ และเพื่อให้ล็อคไม่ว่างทางตลาดจะจัดให้มีการจับสลากสำหรับพ่อค้าแม่ค้าขาจรทั้งหลาย ซึ่งมีข้อดีที่ตลาดเองก็มีรายได้และลูกค้าที่มาเดินตลาดก็ได้เห็นสินค้าใหม่ๆ และล็อคสินค้าที่เต็มทุกล็อค แต่ทั้งนี้พ่อค้าแม่ค้าขาจรเองก็ต้องรู้ข้อมูลในตลาดนั้นๆ และรู้จักกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องนี้ซึ่งส่วนใหญ่จะรวมเอาพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการมาพร้อมกันและจับสลากในทีเดียวเพื่อความเป็นธรรม 4.เปิดท้ายขายของส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีจับสลาก การเปิดท้ายขายของก็เป็นอีกรูปแบบที่พ่อค้าแม่ค้านิยม ในบางตลาดที่คนอาจไม่ฮิตมาก อาจใช้การเดินเข้าไปติดต่อกับผู้ดูแลตลาดและพูดคุยรายละเอียดในการขายของได้ แต่กับบางตลาดที่คนนิยมมากย่อมมีพ่อค้าแม่ค้าแบบเปิดท้ายที่ต้องการพื้นที่มากตามไปด้วยวิธีที่ดีที่สุดก็คือการจับสลากที่เป็นรูปแบบไม่ต่างกันคือให้ทุกคนลงชื่อรับสิทธิ์ไว้และนัดวันเวลาในการจับสลากซึ่งผลดีคือความเป็นธรรมสำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการขายของแบบเปิดท้ายทุกคน 5.เปิดให้ขายฟรีเสียแค่ค่าน้ำค่าไฟ ของฟรียังมีในโลกโดยเฉพาะบางตลาดที่เป็นตลาดเปิดใหม่มักจะเอาใจพ่อค้าแม่ค้าด้วยการเปิดขายฟรีๆ กันไปเลย ก็เป็นโอกาสทองของพ่อค้าแม่ค้าที่จะมีโอกาสค้าขายแบบไม่ต้องมีต้นทุนเรื่องค่าเช่า แต่ขอบอกก่อนเลยนะครับว่าการเปิดขายฟรีเขาก็มีกำหนดระยะเวลาด้วยไม่ใช่จะเปิดฟรีตลอด อาจจะแค่ 1-2 เดือน แต่ถ้าตลาดเริ่มติดคนเริ่มฮิตทีนี้ก็จะวนกลับมาใช้วิธีการจองล็อคสำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่อยากขายประจำ และจับสลากสำหรับพ่อค้าแม่ค้าขาจร หรือพวกเปิดท้ายขายของ แต่ส่วนใหญ่พ่อค้าแม่ค้าที่ขายตั้งแต่ตอนฟรีๆ หากขายดีก็จะไม่ย้ายไปไหนก็จะยอมจ่ายค่าเช่าให้เจ้าของตลาดไปเรียกว่าเป็นเทคนิคเรียกทั้งลูกค้าและพ่อค้าแม่ค้าที่ได้ผล

Read More

เราเชื่อว่ายุคนี้คงไม่มีใครอยากลงทุนเยอะกับการเริ่มต้นกิจการ แต่ปัญหาก็คือว่าจะหาธุรกิจไหนที่ลงทุนน้อยแต่ให้ผลตอบแทนที่ดี วันนี้เรามี20อาชีพลงทุนน้อยแต่กำไรเยอะมาฝาก หากเรามีเงินในมือตอนนี้สัก3,000-5,000 ก็เริ่มต้นได้เลย บางอาชีพเริ่มต้นได้แบบไม่ต้องใช้เงินทุนสักบาทเดียวด้วยซ้ำไป 1.ลูกชิ้นปิ้งพูดถึงอาชีพลงทุนน้อยชื่อของลูกชิ้นปิ้งก็เด่นมาแต่ไกลนี่คืออาชีพที่เราเริ่มได้เลยขอแค่มีเตาถ่าน มีลูกชิ้นและไม้เสียบ ทำเลหากยังไม่มีที่ไหนก็แนะนำที่บ้านของเราก่อนหรืออยากรวยเร็วหน่อยก็ลองซื้อแฟรนไชส์ลูกชิ้นปิ้งที่มีให้เลือกเพียบ 2.ข้าวราดไข่เจียวใครที่มีทำเลในหมู่บ้าน ในย่านคอนโด ลงทุนซื้อไข่สัก 1-2แผงประมาณ 200 บาทรวมกับวัตถุดิบอื่นๆ อย่างข้าวสาร แครอท ผักที่เบื้องต้นใช้งบไม่เกิน 1,000 บาทขายข้าวไข่เจียวร้อนชามละ 15-20 บาท ก็มีกำไรต่อวันไม่น้อยเช่นกัน 3.ขายแซนด์วิช เริ่มต้นแค่การซื้อขนมปัง แฮม มะเขือเทศ มายองเนส และวัตถุดิบประกอบอื่นๆ ที่รวมแล้วไม่น่าจะเกิน 1,000 บาทนำมาทำแซนด์วิชขายในตอนเช้าหรือเร่ขายตามตลาด หรือหากลงทุนซื้อเครื่องทำแซนด์วิชก็จะยิ่งทำให้สินค้าดูน่าสนใจมากขึ้น 4.ขายงานฝีมือตัวเอง บางทีแทบไม่ต้องลงทุนอะไรแต่ขอให้มีไอเดียในการประดิดประดอย สินค้าแฮนด์เมดไม่ว่าจะเป็นกรอบรูป ภาพวาด งานปั้น งานแกะสลัก เหล่านี้ล้วนแต่มีคุณค่าและมูลค่าในตัวเองใครมีพรสวรรค์ด้านนี้หาเงินใช้ได้สบายๆ 5.ขายน้ำพริกผักลวก แรกๆอาจทำน้ำพริกไม่กี่อย่างเช่นน้ำพริกปลาทู น้ำพริกแมงดา น้ำพริกตาแดง ขายพร้อมกับผักลวกต่างๆ อาจจะต้องใช้ต้นทุนสัก 2,000-3,000 บาทแต่สินค้าแนวนี้เป็นที่ต้องการในตลาด ยิ่งไม่มีคู่แข่งด้วยแล้วขายดีมากเลยทีเดียว 6.ขายไก่ทอด หนึ่งในเมนูยอดฮิตของคนเมืองคือไก่ทอดด้วยกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์เป็นสินค้าขายง่ายขอเพียงมีเงินซื้อไก่ก็สามารถทอดขายได้ทันทีไม่มีทำเลไหนก็เริ่มจากหน้าบ้านตัวเองยิ่งอยู่ใกล้ตลาดใกล้แหล่งชุมชนยังไงก็ขายได้แน่นอน 7.ขายข้าวเหนียวหมูปิ้ง ข้าวเหนียวหมูปิ้งแม้จะมีคู่แข่งเยอะแต่ก็ถือว่าเป็นการลงทุนไม่มาก เราสามารถซื้อหมูมาหมักและเสียบไม้ปิ้งขายได้เอง หรือปัจจุบันมีแฟรนไชส์หมูปิ้งที่เราไม่ต้องเหนื่อยเตรียมวัตถุดิบเองก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจเหมือนกัน 8.ขายก๋วยเตี๋ยว

Read More

ต้องยอมรับว่า “ธุรกิจอาหาร” เป็นธุรกิจที่มีผู้คนหันมาลงทุนมากที่สุด เพราะคิดว่าเป็นธุรกิจที่ไม่ยุ่งยาก โดยเฉพาะ “ร้านอาหาร” อาจกล่าวได้ว่าเป็นธุรกิจยอดนิยมของการลงทุนในทศวรรษนี้ อย่างไรก็ตาม จะพบว่าร้านอาหารที่เปิดกิจการมีจำนวนมากมายในแต่ละปีนั้น แต่เปิดไปสักพักกลับล้มหายตายจากออกจากวงจรธุรกิจไปอย่างรวดเร็ว โดยล่าสุดสมาคมการค้าธุรกิจร้านอาหาร แจ้งข่าวร้ายว่า ในปี 2560 คาดว่าผู้ประกอบการร้านอาหารของคนไทยที่ต้องปิดกิจการลงทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 2 พันร้านค้า จากครึ่งปีแรกที่ปิดตัวไปแล้วมากกว่า 1.3 พันร้านค้า ขณะที่สิ้นปี 2559 ปิดตัวลงไปประมาณ 1 พันร้านค้า โดยเฉพาะที่ภาคอีสานปิดกิจการมากที่สุดประมาณ 700 กว่าร้านค้า รองลงมาคือภาคเหนือ 300 ร้านค้า ส่วนที่เหลือเป็นภาคอื่นๆ โดยปัจจุบันจำนวนร้านอาหารในไทยมีมากกว่า 2-3 แสนร้านค้า สาเหตุที่ร้านอาหารของคนไทยมีการปิดกิจการลงจำนวนมาก เนื่องจากหลายปัจจัยหลักเช่น 1.ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี กำลังซื้อลดลง คนรับประทานอาหารนอกบ้านน้อยลง ส่งผลกระทบร้านอาหารมีรายได้ลดลง แต่ต้นทุนสูงขึ้น 2.การมีร้านอาหารต่างชาติในระบบแฟรนไชส์เข้ามาเปิดกิจการในไทยจำนวนมาก รวมไปถึงการบริการเดลิเวอรี่จากผู้ประกอบจำนวนมากในระบบออนไลน์ ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น วันนี้เราจึงอยากขอนำเสนอวิธีการทำธุรกิจอาหาร ให้รอด ให้รวย และประสบความสำเร็จ จนสามารถสร้างความแตกต่าง สร้างความโดดเด่น ที่จะสามารถดึงดูดลูกค้าให้หันมาใช้บริการ และเป็นลูกค้าประจำร้าน 1.สินค้า ขายอาหารอะไร ให้โดนใจกลุ่มลูกค้า

Read More